RSS
Write some words about you and your blog here

สวัสดีทุกท่าน

Blog นี้ทำขึ้นมาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

1. การเตรียมความพร้อม
1.1 สร้างความตระหนักให้แก่บุคลากร เพื่อให้เห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขึ้นใช้ในการจัดการศึกษาตามแนวทางของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคลากรที่สำคัญ เช่น คณะครูในโรงเรียน กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนนักเรียน เป็นต้น โดยโรงเรียนจะต้อง จัดเตรียมหรือจัดทำ ข้อมูลที่สำคัญ ๆ เช่น ข้อมูลที่แสดงถึงความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน ความรู้ ความสนใจ ความถนัดของบุคลากร
1.2 พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เช่น
- การศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เอกสารประกอบหลักสูตร
- ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของบุคลากร ชุมชน เช่น ข้อมูล
ทั่วไป สภาพ ศักยภาพ จุดเด่น จุดด้อย ปัจจัยพื้นฐานที่เป็นทางบวกของโรงเรียน เป็นต้น
- จัดอบรม ประชุมทางวิชาการ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันของบุคลากร
ทั้งนี้ อาจมีการแต่งตั้งคณะทำงานที่รับผิดชอบการศึกษาเอกสารหลักสูตร ในแต่สาระ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนอย่างเป็นระบบ ครบทุกด้าน เช่น ข้อมูลบุคลากร ทั้งโรงเรียน ชุมชน ภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ คุณภาพนักเรียน สภาพความสำเร็จความภาคภูมิใจในอดีต ฯลฯ
1.3 การแต่งตั้งคณะกรรมการของสถานศึกษา ให้ครอบคลุมสอดคล้องตามภารกิจของการบริหารจัดการหลักสูตร เช่น คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษา ,คณะอนุ กรรมการระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1.4 จัดทำระบบสารสนเทศของสถานศึกษา โรงเรียนควรมีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ครบ รอบด้าน ตามภารกิจของการเป็นผู้จัดการศึกษา เช่น
- ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา
- สภาพการบริหารและจัดการศึกษา คุณภาพผู้เรียนทั้งในอดีต ปัจจุบัน
- ศักยภาพของสถานศึกษา จุดเด่น จุดด้อย โอกาสที่เอื้ออำนวย ปัจจัยที่ส่งเสริม
การพัฒนา
- ความต้องการของสถานศึกษา โรงเรียนมีทิศทางที่ชัดเจน สอดคล้องตอบสนอง
ท้องถิ่น
- แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น สังคม ประเทศชาติสถานการณ์ วิกฤตชาติ สังคมโลก
- แนวทางการจัดการศึกษา ตอบสนองแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ วิสัยทัศน์
โรงเรียน
- การมีส่วนร่วมของชุมชน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กรรมการสถานศึกษา /
สภานักเรียน
1.5 จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการนำข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนมา
เป็นฐานและดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้สอดคล้องตอบสนองกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ( ภารกิจ ) เป้าหมาย ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรสถานศึกษา ใช้เป็นแม่บทในการพัฒนาการศึกษา ให้มีความต่อเนื่อง
1. 6 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลักสูตร ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้ เข้าใจตรงกัน เพื่อความร่วมมือที่ดีในการดำเนินการจัดการศึกษาต่อไป
2. การวางแผนจัดทำหลักสูตร หลังจากที่ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรทุกด้านเรียบร้อยแล้ว โรงเรียนจะต้องมีการระดมสรรพกำลัง ทั้งด้านความคิด / สมอง และเวลา ปัจจัยอื่น ๆ เพื่อการนี้อย่างดี ดังนี้
2.1 ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องร่วมกัน
2.2 กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมาย ของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
2.3 กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ใช้ของหลักสูตรแกนกลางก็ได้ หากเห็นว่าควรเพิ่มเพื่อให้สอดคล้องกับ ม. 27 วรรค 2 อีกก็ได้ แต่ต้องไม่ตัดหรือลด ที่แกนกลางกำหนดไว้)
2.4 กำหนดสมรรถนะผู้เรียน(ยึดตามหลักสูตรแกนกลาง )
2.5 กำหนดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาแต่ละช่วงชั้น และสัดส่วนเวลาเรียน (กลุ่มสาระพื้นฐาน ยึดตามแกนกลางที่กำหนด ส่วนสาระเพิ่มเติมให้โรงเรียนพิจารณาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับหลักการที่หลักสูตรแกนกลางกำหนด)
2.6 กำหนดตัวชี้วัดรายปีและสาระการเรียนรู้แกนกลางรายปี (สำหรับชั้น ป.1- 6 ม.1-3) ส่วน ม. 4-6 ให้ยึดตัวชี้วัดช่วงชั้น/สาระการเรียนรู้แกนกลางช่วงชั้น จัดทำเป็นรายภาค ซึ่งหลักสูตรแกนกลาง จัดทำไว้ให้แล้ว) กำหนดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น /ตัวชี้วัดการเรียนรู้ท้องถิ่น ที่โรงเรียน ชุมชน ร่วมกันกำหนดขึ้น ตามกรอบแนวคิด หรือขอบข่ายการเรียนรู้ท้องถิ่น ที่สพท. ประกาศไว้)
2.7 จัดทำคำอธิบายรายวิชา
การจัดทำคำอธิบายรายวิชา ให้พิจารณาคำสำคัญจากมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ซึ่งจะพบในลักษณะของเนื้อหาสาระ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะของนักเรียน คำสำคัญของเนื้อหาสาระบ่งบอกให้ทราบว่า นักเรียนจะต้องเรียนรู้เนื้อหาสาระใดบ้าง ส่วนคำสำคัญในลักษณะของทักษะกระบวนการนั้น มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติ รวมทั้งคุณลักษณะที่ต้องการปลูกฝังให้เกิดแก่นักเรียนเพื่อให้บรรลุมาตรฐานที่กำหนด
คำอธิบายรายวิชาควรประกอบด้วย ชื่อรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับชั้น รหัสวิชา จำนวนเวลา หรือจำนวนหน่วยกิต สาระสำคัญโดยสังเขป และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่าง
ชื่อรายวิชา คณิตศาสตร์ 6 รหัสวิชา ค 23103 ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
จำนวน 160 ชั่วโมง

ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาให้มีความรู้เกี่ยวกับรูปเรขาคณิตและสมบัติบางประการของรูปเรขาคณิต ซึ่งได้แก่ ทรงกระบอก กรวย ปริซึม พีระมิด รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับมุม ส่วนของเส้นตรง รูปสี่เหลี่ยมเส้นขนาน สมการและการแก้สมการที่มีตัวไม่ทราบค่า 1 ตัว โจทย์ปัญหาสมการ การเก็บรวบรวมข้อมูลการอ่าน และอภิปรายประเด็นต่างๆ จากแผนภูมิภาพ แผนภูมิแท่ง แผนภูมิ รูปวงกลม ตาราง และกราฟ การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิแบบต่าง ๆ รู้ความหมาย และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเหตุการณ์ที่ “เกิดขึ้นอย่างแน่นอน” “อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น” “ไม่เกิดขึ้นแน่นอน” นอกจานี้ นักเรียนจะได้รับการฝึกให้มีทักษะ / กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการให้เหตุผล ความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอความสามารถในการให้เหตุผล ความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ ได้ รวมทั้งมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เหล่านี้ ได้จัดการเรียนรู้ผ่านสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต่างๆ ข้างต้น

2.8 ออกแบบการเรียนรู้
2.9 กำหนดหน่วยการเรียนรู้
2.10 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
2.11 กำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2.12 กำหนดสื่อการเรียนรู้ / แหล่งเรียนรู้
2.13 กำหนดการวัดและประเมินผล
2.14 บริหารจัดการงบประมาณ อาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ และบุคลากรให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา
2.3 ขั้นตอนการดำเนินการสร้างหลักสูตรแกนกลางสถานศึกษา
2.3.1 จัดวางบุคลากรให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ ความถนัด โดยการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำร่างสาระหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรกลุ่มสาระต่าง ๆ ทั้ง 8 กลุ่ม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พร้อมมอบหมายภารกิจให้ชัดเจน
2.3.2 คณะอนุกรรมการ ฯ ดังกล่าวดำเนินการดังนี้
1) กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สมรรถนะผู้เรียน ร่วมกันดำเนินการทุกคนทั้งบุคลากรครู ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน กรรมการสถานศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น
วิสัยทัศน์ เป็นเจตนารมณ์ อุดมการณ์ หลักการ ความเชื่อ อนาคตที่พึงประสงค์เป็นการคิดไปล่วงหน้า มีเอกลักษณ์ ที่สามารถสร้างความศรัทธา การมีส่วนร่วม และจุดประกายความ- คิดในสภาพการพัฒนาสูงสุด มีความเป็นไปได้ มีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน มีระยะเวลาที่แน่นอน
ภารกิจ ( พันธกิจ ) แสดงวิธีดำเนินการของสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่น เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม
เป้าหมาย กำหนดเป็นความคาดหวังด้านคุณภาพที่เกิดกับผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ ภารกิจ ที่สถานศึกษากำหนดและสอดคล้องกับหลักการ จุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ซึ่งโรงเรียน สามารถกำหนดขึ้นได้ตามความต้องการ โดยสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ สภาพปัญหา และความจำเป็นที่จะต้องมีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม เพิ่มจากที่กำหนดในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
สมรรถนะผู้เรียน เป็นเป้าหมายสุดท้ายที่บ่งบอกว่า เมื่อผู้เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือช่วงชั้นที่โรงเรียนจัดการศึกษาแล้ว ผู้เรียนจะมีความสามารถที่ปรากฏขึ้นได้อย่างมีรูปธรรม หรือปรากฏให้เป็นที่รับรู้รับทราบได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เป็นที่ยอมรับหรือรับรู้ของผู้เกี่ยวข้องได้จริง
2. ) จัดทำโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางสถานศึกษา ทุกคนจัดทำร่วมกัน โดยการศึกษาวิเคราะห์ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย ภารกิจ ร่วมกัน แล้วนำมากำหนดโครงสร้างหลักสูตร กำหนดสาระการเรียนรู้ และเวลาเรียนให้ชัดเจน ซึ่งโครงสร้างหลักสูตรจะต้องประกอบด้วย
- สาระการเรียนรู้ /รายวิชา มาตรฐานการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ครบ 8
กลุ่มสาระ สาระรายปี รายภาค ทั้งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและเพิ่มเติมตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น ผู้เรียน
- มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายปี/ภาค
- เวลาแต่ละกลุ่มสาระ ทุกช่วงชั้น ชั้นปี หน่วยการเรียนรู้
3.) จัดทำสาระหลักสูตร
3.1 ) กำหนดตัวชี้วัดการเรียนรู้รายปี /รายภาค โดยวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดการเรียนรู้รายปีที่หลักสูตรแกนกลางกำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
3.2 ) กำหนดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น โดยวิเคราะห์จากมาตรฐาน ตัวชี้วัดการเรียนรู้รายปี / รายภาค ที่กำหนดไว้ ให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน
3.3 ) กำหนดเวลาเรียน และ ค่าน้ำหนักกลุ่มสาระ หรือ จำนวนหน่วยกิต
- ช่วงชั้นที่ 1 ( ชั้น ป . 1 – 3 ) ช่วงชั้นที่ 2 ( ป. 4 – 6 )กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายปี กำหนดคาบเวลาเป็น ชั่วโมง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และสาระการเรียนรู้รายปี ส่วนช่วงชั้นที่ 3.4 กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายภาค
3.4 ) จัดทำคำอธิบายรายวิชา ให้เขียนเป็นความเรียง ตามรูปแบบเดิมที่เคยใช้ในหลักสูตรประถมศึกษา 2521 มัธยมศึกษาตอนต้น 2521 มัธยมศึกษาตอนปลาย 2524 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 )
3.5 ) จัดทำหน่วยการเรียนรู้โดยการนำเอาสาระการเรียนรู้ราบปี ที่กำหนดไปบูรณาการจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ย่อย ๆ เพื่อความสะดวกในการจัดการเรียนรู้และผู้เรียนได้เรียนรู้ในลักษณะองค์รวม หน่วยการเรียนรู้ แต่ละหน่วยประกอบด้วย ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ และจำนวนคาบ เวลาสำหรับจัดการเรียนรู้ ซึ่งเมื่อผู้เรียน เรียนรู้ครบทุกหน่วยการเรียนรู้ย่อย ก็สามารถตัวชี้วัดรายปีได้
3.6 ) จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์จากคำอธิบายรายวิชา รายปี แต่ละหน่วยการเรียนรู้ที่จัดทำ กำหนดเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนและผู้สอน
4.) การออกแบบการเรียนรู้
4.1 การจัดการเรียนการสอน ครูต้องคำนึงถึง จิตวิทยาพัฒนาการของผู้เรียน สภาพความพร้อมของผู้เรียน วิธีการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ความต่อเนื่องของการเรียนรู้ เน้นการบูรณาการโดยช่วงชั้นที่ 1 ใช้กลุ่มสาระภาษาไทย หรือคณิตศาสตร์ เป็นแกน ช่วงชั้นที่ 2 เน้นการบูรณาการ โครงงาน โดยใช้หัวเรื่องเป็นแกน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
4.2 สื่อการเรียนรู้ / แหล่งเรียนรู้ ใช้สื่อหลากหลาย เน้นของจริง ของจำลอง ทันสมัย ใกล้ตัว เกิดการเรียนรู้ง่าย เชิงประจักษ์ เหมาะสมทั้งปวง
4.3 การวัดและประเมินผล ด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีเกณฑ์การวัดที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ และสภาพที่แท้จริงขององค์ความรู้ ผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น
4.4 การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้หลักสูตรสามารถเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนตามที่คาดหวังได้ เช่น การบรรจุแผนงานทางวิชาการลงในแผนพัฒนาคุณภาพอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง การจัดการแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการใช้หลักสูตร การจัดการสภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก การเตรียมการของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
2.3.3 คณะกรรมการจัดทำร่างหลักสูตร นำร่างหลักสูตร เข้าร่วมพิจารณาปรับปรุง
แก้ไขหลอมรวม เรียบเรียง เพื่อให้เป็นหลักสูตรที่สมบูรณ์ หรือหลักสูตรสถานศึกษาฉบับแม่บทของโรงเรียนต่อไป
การเรียบเรียงหลักสูตรแกนกลางสถานศึกษา ประกอบด้วยส่วนสำคัญดังต่อไปนี้
1. ส่วนนำ คือการแสดงถึง สภาพพื้นฐานทั่วไปของสถานศึกษา / ชุมชน
2. วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย คุณลักษณะอันพึงประสงค์
3. โครงสร้างหลักสูตร
4. คำอธิบายรายวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
5. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
6. การจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้
7. การวัดและประเมินผล
8. การบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางสถานศึกษา
9. อื่น ๆ
2.4 การใช้หลักสูตร
2.4.1. การบริหารจัดการเรียนรู้
1 ) การจัดการด้านโครงสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ อาหารสถานที่ แหล่งเรียนรู้ ภายใน ภายนอก
2 ) การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา / แผนปฏิบัติการประจำปี ที่ตอบสนอง
ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามเป้าหมายหลักสูตร เน้นการเรียนรู้ควบคู่การลงมือปฏิบัติจริง การพัฒนาและซ่อมเสริมศักยภาพผู้เรียนตามสภาพจริงเชิงประจักษ์ อย่างต่อเนื่อง
3 ) การจัดหา เลือก ใช้ จัดทำและพัฒนาสื่อ และส่งเสริมการใช้สื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยี ให้สอดคล้องตามแผนการเรียนรู้
4 ) การจัดกระบวนการเรียนรู้ เน้นการตอบสนองศักยภาพ ความต้องการของผู้เรียน
5 ) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาด กิจกรรมผู้เรียน
6 ) การวัดประเมินผล เน้นการประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ประเมินตามสภาพจริงการจัดทำคู่มือการวัดประเมินผล ระเบียบการวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา การผ่านช่วงชั้น การเทียบโอน
7 ) การวิจัยในชั้นเรียน
8 ) การนิเทศภายใน กำกับ ติดตาม
2.4.2 การบริหารด้านบุคคล การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงาน
วิชาการ , คณะกรรมการดำเนินการจัดสร้างเกณฑ์การประเมินอ่าน เขียน คิด วิเคราะห์ ,คณะกรรมการวัดประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ , คณะกรรมการดำเนินการตามระเบียบการวัดประเมินผลของสถานศึกษา ฯลฯ
2.4.3 การบริหารแบบบูรณาการ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในผลผลิตของ
การศึกษา การสนับสนุนทรัพยากร แหล่งเรียนรู้ภายนอก เช่น สถานประกอบการในท้องถิ่น ชุมชน
2.5 การนิเทศ ติดตามและประเมินผล
2.5.1 มีคณะกรรมการนิเทศภายในของสถานศึกษา
2.5.2 มีแผนงาน/โครงการนิเทศ ติดตาม กำกับ ในสถานศึกษา
2.5.3 มีเอกสารหลักฐานการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรที่เป็นปัจจุบัน
2.5.4 มีรายงานการนิเทศภายใน ภายนอก เป็นปัจจุบัน
2.5.5 มีระบบกำกับ ติดตามและประเมินผล
................................................................................................