RSS
Write some words about you and your blog here

สวัสดีทุกท่าน

Blog นี้ทำขึ้นมาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ความหมายของ Blog

blog คืออะไร ?
เมื่อกล่าวถึง Blog หลายๆคน คงพูดทับศัพท์กันไป ว่า "บล็อก" ความหมายคืออะไร? กล่าวสั้นๆ ก็คือเว็บไซต์ หรือเว็บเพจ ซึ่งก็เป็นคำอธิบายกว้างๆ แต่มีผู้ให้นิยามศัพท์คำว่าBlog นี้ต่างๆ กันไป อาทิเช่น วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้ให้คำนิยามคำว่า "บล็อก" ไว้ดังนี้
บล็อก (blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
เว็บค้นหาบล็อกเทคโนราที ได้อ้างไว้ว่าปัจจุบันในอินเทอร์เน็ต มีบล็อกมากกว่า 112 ล้านบล็อกทั่วโลกweb blog คืออะไร หลายคนก็ได้ให้ความหมายสั้นๆว่าเป็นการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่างๆ
บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย

การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

1. การเตรียมความพร้อม
1.1 สร้างความตระหนักให้แก่บุคลากร เพื่อให้เห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขึ้นใช้ในการจัดการศึกษาตามแนวทางของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคลากรที่สำคัญ เช่น คณะครูในโรงเรียน กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนนักเรียน เป็นต้น โดยโรงเรียนจะต้อง จัดเตรียมหรือจัดทำ ข้อมูลที่สำคัญ ๆ เช่น ข้อมูลที่แสดงถึงความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน ความรู้ ความสนใจ ความถนัดของบุคลากร
1.2 พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เช่น
- การศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เอกสารประกอบหลักสูตร
- ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของบุคลากร ชุมชน เช่น ข้อมูล
ทั่วไป สภาพ ศักยภาพ จุดเด่น จุดด้อย ปัจจัยพื้นฐานที่เป็นทางบวกของโรงเรียน เป็นต้น
- จัดอบรม ประชุมทางวิชาการ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันของบุคลากร
ทั้งนี้ อาจมีการแต่งตั้งคณะทำงานที่รับผิดชอบการศึกษาเอกสารหลักสูตร ในแต่สาระ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนอย่างเป็นระบบ ครบทุกด้าน เช่น ข้อมูลบุคลากร ทั้งโรงเรียน ชุมชน ภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ คุณภาพนักเรียน สภาพความสำเร็จความภาคภูมิใจในอดีต ฯลฯ
1.3 การแต่งตั้งคณะกรรมการของสถานศึกษา ให้ครอบคลุมสอดคล้องตามภารกิจของการบริหารจัดการหลักสูตร เช่น คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษา ,คณะอนุ กรรมการระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1.4 จัดทำระบบสารสนเทศของสถานศึกษา โรงเรียนควรมีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ครบ รอบด้าน ตามภารกิจของการเป็นผู้จัดการศึกษา เช่น
- ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา
- สภาพการบริหารและจัดการศึกษา คุณภาพผู้เรียนทั้งในอดีต ปัจจุบัน
- ศักยภาพของสถานศึกษา จุดเด่น จุดด้อย โอกาสที่เอื้ออำนวย ปัจจัยที่ส่งเสริม
การพัฒนา
- ความต้องการของสถานศึกษา โรงเรียนมีทิศทางที่ชัดเจน สอดคล้องตอบสนอง
ท้องถิ่น
- แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น สังคม ประเทศชาติสถานการณ์ วิกฤตชาติ สังคมโลก
- แนวทางการจัดการศึกษา ตอบสนองแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ วิสัยทัศน์
โรงเรียน
- การมีส่วนร่วมของชุมชน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กรรมการสถานศึกษา /
สภานักเรียน
1.5 จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการนำข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนมา
เป็นฐานและดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้สอดคล้องตอบสนองกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ( ภารกิจ ) เป้าหมาย ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรสถานศึกษา ใช้เป็นแม่บทในการพัฒนาการศึกษา ให้มีความต่อเนื่อง
1. 6 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลักสูตร ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้ เข้าใจตรงกัน เพื่อความร่วมมือที่ดีในการดำเนินการจัดการศึกษาต่อไป
2. การวางแผนจัดทำหลักสูตร หลังจากที่ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรทุกด้านเรียบร้อยแล้ว โรงเรียนจะต้องมีการระดมสรรพกำลัง ทั้งด้านความคิด / สมอง และเวลา ปัจจัยอื่น ๆ เพื่อการนี้อย่างดี ดังนี้
2.1 ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องร่วมกัน
2.2 กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมาย ของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
2.3 กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ใช้ของหลักสูตรแกนกลางก็ได้ หากเห็นว่าควรเพิ่มเพื่อให้สอดคล้องกับ ม. 27 วรรค 2 อีกก็ได้ แต่ต้องไม่ตัดหรือลด ที่แกนกลางกำหนดไว้)
2.4 กำหนดสมรรถนะผู้เรียน(ยึดตามหลักสูตรแกนกลาง )
2.5 กำหนดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาแต่ละช่วงชั้น และสัดส่วนเวลาเรียน (กลุ่มสาระพื้นฐาน ยึดตามแกนกลางที่กำหนด ส่วนสาระเพิ่มเติมให้โรงเรียนพิจารณาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับหลักการที่หลักสูตรแกนกลางกำหนด)
2.6 กำหนดตัวชี้วัดรายปีและสาระการเรียนรู้แกนกลางรายปี (สำหรับชั้น ป.1- 6 ม.1-3) ส่วน ม. 4-6 ให้ยึดตัวชี้วัดช่วงชั้น/สาระการเรียนรู้แกนกลางช่วงชั้น จัดทำเป็นรายภาค ซึ่งหลักสูตรแกนกลาง จัดทำไว้ให้แล้ว) กำหนดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น /ตัวชี้วัดการเรียนรู้ท้องถิ่น ที่โรงเรียน ชุมชน ร่วมกันกำหนดขึ้น ตามกรอบแนวคิด หรือขอบข่ายการเรียนรู้ท้องถิ่น ที่สพท. ประกาศไว้)
2.7 จัดทำคำอธิบายรายวิชา
การจัดทำคำอธิบายรายวิชา ให้พิจารณาคำสำคัญจากมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ซึ่งจะพบในลักษณะของเนื้อหาสาระ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะของนักเรียน คำสำคัญของเนื้อหาสาระบ่งบอกให้ทราบว่า นักเรียนจะต้องเรียนรู้เนื้อหาสาระใดบ้าง ส่วนคำสำคัญในลักษณะของทักษะกระบวนการนั้น มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติ รวมทั้งคุณลักษณะที่ต้องการปลูกฝังให้เกิดแก่นักเรียนเพื่อให้บรรลุมาตรฐานที่กำหนด
คำอธิบายรายวิชาควรประกอบด้วย ชื่อรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับชั้น รหัสวิชา จำนวนเวลา หรือจำนวนหน่วยกิต สาระสำคัญโดยสังเขป และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่าง
ชื่อรายวิชา คณิตศาสตร์ 6 รหัสวิชา ค 23103 ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
จำนวน 160 ชั่วโมง

ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาให้มีความรู้เกี่ยวกับรูปเรขาคณิตและสมบัติบางประการของรูปเรขาคณิต ซึ่งได้แก่ ทรงกระบอก กรวย ปริซึม พีระมิด รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับมุม ส่วนของเส้นตรง รูปสี่เหลี่ยมเส้นขนาน สมการและการแก้สมการที่มีตัวไม่ทราบค่า 1 ตัว โจทย์ปัญหาสมการ การเก็บรวบรวมข้อมูลการอ่าน และอภิปรายประเด็นต่างๆ จากแผนภูมิภาพ แผนภูมิแท่ง แผนภูมิ รูปวงกลม ตาราง และกราฟ การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิแบบต่าง ๆ รู้ความหมาย และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเหตุการณ์ที่ “เกิดขึ้นอย่างแน่นอน” “อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น” “ไม่เกิดขึ้นแน่นอน” นอกจานี้ นักเรียนจะได้รับการฝึกให้มีทักษะ / กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการให้เหตุผล ความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอความสามารถในการให้เหตุผล ความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ ได้ รวมทั้งมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เหล่านี้ ได้จัดการเรียนรู้ผ่านสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต่างๆ ข้างต้น

2.8 ออกแบบการเรียนรู้
2.9 กำหนดหน่วยการเรียนรู้
2.10 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
2.11 กำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2.12 กำหนดสื่อการเรียนรู้ / แหล่งเรียนรู้
2.13 กำหนดการวัดและประเมินผล
2.14 บริหารจัดการงบประมาณ อาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ และบุคลากรให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา
2.3 ขั้นตอนการดำเนินการสร้างหลักสูตรแกนกลางสถานศึกษา
2.3.1 จัดวางบุคลากรให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ ความถนัด โดยการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำร่างสาระหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรกลุ่มสาระต่าง ๆ ทั้ง 8 กลุ่ม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พร้อมมอบหมายภารกิจให้ชัดเจน
2.3.2 คณะอนุกรรมการ ฯ ดังกล่าวดำเนินการดังนี้
1) กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สมรรถนะผู้เรียน ร่วมกันดำเนินการทุกคนทั้งบุคลากรครู ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน กรรมการสถานศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น
วิสัยทัศน์ เป็นเจตนารมณ์ อุดมการณ์ หลักการ ความเชื่อ อนาคตที่พึงประสงค์เป็นการคิดไปล่วงหน้า มีเอกลักษณ์ ที่สามารถสร้างความศรัทธา การมีส่วนร่วม และจุดประกายความ- คิดในสภาพการพัฒนาสูงสุด มีความเป็นไปได้ มีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน มีระยะเวลาที่แน่นอน
ภารกิจ ( พันธกิจ ) แสดงวิธีดำเนินการของสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่น เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม
เป้าหมาย กำหนดเป็นความคาดหวังด้านคุณภาพที่เกิดกับผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ ภารกิจ ที่สถานศึกษากำหนดและสอดคล้องกับหลักการ จุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ซึ่งโรงเรียน สามารถกำหนดขึ้นได้ตามความต้องการ โดยสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ สภาพปัญหา และความจำเป็นที่จะต้องมีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม เพิ่มจากที่กำหนดในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
สมรรถนะผู้เรียน เป็นเป้าหมายสุดท้ายที่บ่งบอกว่า เมื่อผู้เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือช่วงชั้นที่โรงเรียนจัดการศึกษาแล้ว ผู้เรียนจะมีความสามารถที่ปรากฏขึ้นได้อย่างมีรูปธรรม หรือปรากฏให้เป็นที่รับรู้รับทราบได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เป็นที่ยอมรับหรือรับรู้ของผู้เกี่ยวข้องได้จริง
2. ) จัดทำโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางสถานศึกษา ทุกคนจัดทำร่วมกัน โดยการศึกษาวิเคราะห์ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย ภารกิจ ร่วมกัน แล้วนำมากำหนดโครงสร้างหลักสูตร กำหนดสาระการเรียนรู้ และเวลาเรียนให้ชัดเจน ซึ่งโครงสร้างหลักสูตรจะต้องประกอบด้วย
- สาระการเรียนรู้ /รายวิชา มาตรฐานการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ครบ 8
กลุ่มสาระ สาระรายปี รายภาค ทั้งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและเพิ่มเติมตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น ผู้เรียน
- มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายปี/ภาค
- เวลาแต่ละกลุ่มสาระ ทุกช่วงชั้น ชั้นปี หน่วยการเรียนรู้
3.) จัดทำสาระหลักสูตร
3.1 ) กำหนดตัวชี้วัดการเรียนรู้รายปี /รายภาค โดยวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดการเรียนรู้รายปีที่หลักสูตรแกนกลางกำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
3.2 ) กำหนดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น โดยวิเคราะห์จากมาตรฐาน ตัวชี้วัดการเรียนรู้รายปี / รายภาค ที่กำหนดไว้ ให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน
3.3 ) กำหนดเวลาเรียน และ ค่าน้ำหนักกลุ่มสาระ หรือ จำนวนหน่วยกิต
- ช่วงชั้นที่ 1 ( ชั้น ป . 1 – 3 ) ช่วงชั้นที่ 2 ( ป. 4 – 6 )กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายปี กำหนดคาบเวลาเป็น ชั่วโมง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และสาระการเรียนรู้รายปี ส่วนช่วงชั้นที่ 3.4 กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายภาค
3.4 ) จัดทำคำอธิบายรายวิชา ให้เขียนเป็นความเรียง ตามรูปแบบเดิมที่เคยใช้ในหลักสูตรประถมศึกษา 2521 มัธยมศึกษาตอนต้น 2521 มัธยมศึกษาตอนปลาย 2524 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 )
3.5 ) จัดทำหน่วยการเรียนรู้โดยการนำเอาสาระการเรียนรู้ราบปี ที่กำหนดไปบูรณาการจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ย่อย ๆ เพื่อความสะดวกในการจัดการเรียนรู้และผู้เรียนได้เรียนรู้ในลักษณะองค์รวม หน่วยการเรียนรู้ แต่ละหน่วยประกอบด้วย ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ และจำนวนคาบ เวลาสำหรับจัดการเรียนรู้ ซึ่งเมื่อผู้เรียน เรียนรู้ครบทุกหน่วยการเรียนรู้ย่อย ก็สามารถตัวชี้วัดรายปีได้
3.6 ) จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์จากคำอธิบายรายวิชา รายปี แต่ละหน่วยการเรียนรู้ที่จัดทำ กำหนดเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนและผู้สอน
4.) การออกแบบการเรียนรู้
4.1 การจัดการเรียนการสอน ครูต้องคำนึงถึง จิตวิทยาพัฒนาการของผู้เรียน สภาพความพร้อมของผู้เรียน วิธีการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ความต่อเนื่องของการเรียนรู้ เน้นการบูรณาการโดยช่วงชั้นที่ 1 ใช้กลุ่มสาระภาษาไทย หรือคณิตศาสตร์ เป็นแกน ช่วงชั้นที่ 2 เน้นการบูรณาการ โครงงาน โดยใช้หัวเรื่องเป็นแกน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
4.2 สื่อการเรียนรู้ / แหล่งเรียนรู้ ใช้สื่อหลากหลาย เน้นของจริง ของจำลอง ทันสมัย ใกล้ตัว เกิดการเรียนรู้ง่าย เชิงประจักษ์ เหมาะสมทั้งปวง
4.3 การวัดและประเมินผล ด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีเกณฑ์การวัดที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ และสภาพที่แท้จริงขององค์ความรู้ ผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น
4.4 การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้หลักสูตรสามารถเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนตามที่คาดหวังได้ เช่น การบรรจุแผนงานทางวิชาการลงในแผนพัฒนาคุณภาพอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง การจัดการแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการใช้หลักสูตร การจัดการสภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก การเตรียมการของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
2.3.3 คณะกรรมการจัดทำร่างหลักสูตร นำร่างหลักสูตร เข้าร่วมพิจารณาปรับปรุง
แก้ไขหลอมรวม เรียบเรียง เพื่อให้เป็นหลักสูตรที่สมบูรณ์ หรือหลักสูตรสถานศึกษาฉบับแม่บทของโรงเรียนต่อไป
การเรียบเรียงหลักสูตรแกนกลางสถานศึกษา ประกอบด้วยส่วนสำคัญดังต่อไปนี้
1. ส่วนนำ คือการแสดงถึง สภาพพื้นฐานทั่วไปของสถานศึกษา / ชุมชน
2. วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย คุณลักษณะอันพึงประสงค์
3. โครงสร้างหลักสูตร
4. คำอธิบายรายวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
5. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
6. การจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้
7. การวัดและประเมินผล
8. การบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางสถานศึกษา
9. อื่น ๆ
2.4 การใช้หลักสูตร
2.4.1. การบริหารจัดการเรียนรู้
1 ) การจัดการด้านโครงสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ อาหารสถานที่ แหล่งเรียนรู้ ภายใน ภายนอก
2 ) การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา / แผนปฏิบัติการประจำปี ที่ตอบสนอง
ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามเป้าหมายหลักสูตร เน้นการเรียนรู้ควบคู่การลงมือปฏิบัติจริง การพัฒนาและซ่อมเสริมศักยภาพผู้เรียนตามสภาพจริงเชิงประจักษ์ อย่างต่อเนื่อง
3 ) การจัดหา เลือก ใช้ จัดทำและพัฒนาสื่อ และส่งเสริมการใช้สื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยี ให้สอดคล้องตามแผนการเรียนรู้
4 ) การจัดกระบวนการเรียนรู้ เน้นการตอบสนองศักยภาพ ความต้องการของผู้เรียน
5 ) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาด กิจกรรมผู้เรียน
6 ) การวัดประเมินผล เน้นการประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ประเมินตามสภาพจริงการจัดทำคู่มือการวัดประเมินผล ระเบียบการวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา การผ่านช่วงชั้น การเทียบโอน
7 ) การวิจัยในชั้นเรียน
8 ) การนิเทศภายใน กำกับ ติดตาม
2.4.2 การบริหารด้านบุคคล การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงาน
วิชาการ , คณะกรรมการดำเนินการจัดสร้างเกณฑ์การประเมินอ่าน เขียน คิด วิเคราะห์ ,คณะกรรมการวัดประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ , คณะกรรมการดำเนินการตามระเบียบการวัดประเมินผลของสถานศึกษา ฯลฯ
2.4.3 การบริหารแบบบูรณาการ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในผลผลิตของ
การศึกษา การสนับสนุนทรัพยากร แหล่งเรียนรู้ภายนอก เช่น สถานประกอบการในท้องถิ่น ชุมชน
2.5 การนิเทศ ติดตามและประเมินผล
2.5.1 มีคณะกรรมการนิเทศภายในของสถานศึกษา
2.5.2 มีแผนงาน/โครงการนิเทศ ติดตาม กำกับ ในสถานศึกษา
2.5.3 มีเอกสารหลักฐานการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรที่เป็นปัจจุบัน
2.5.4 มีรายงานการนิเทศภายใน ภายนอก เป็นปัจจุบัน
2.5.5 มีระบบกำกับ ติดตามและประเมินผล
................................................................................................








อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network
อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติด ต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูล ที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) ซึ่ง โปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission ControlProtocol/Internet Protocol)